ku_Slpoe

ku_Slpoe

 

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ปัจจัยความปลอดภัยของความลาดหรือ เสถียรภาพความลาด มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี หรือหลายทฤษฎี แต่อย่างไรก็ตามทุกทฤษฎีก็อาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันก็คือ อัตราส่วนระหว่างที่ต้านการพังทลายของดิน กับแรงที่พยายามพังทลายดิน
งานทางด้านการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาด เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นงานที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับตัวเลขมากมาย ทั้งยังต้องมีการเปลี่ยนรูปเพื่อคำนวณพื้นที่ เพื่อหาปริมาตรดิน เพื่อป้องกันความผิดพลาดนี้ต้องทำการวิเคราะห์ และคำนวณหลายครั้ง จึงได้มีความพยายามในการคิดค้นวิธีที่จะช่วยวิเคราะห์เสถียรภาพลาด
ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากมายในงานวิศวกรรมโยธา ดังนั้นจึงเป็นแนวทางหนึ่ง ในการประหยัดเวลา และลดข้อผิดพลาดในการออกแบบเสถียรภาพความลาด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีอยู่ในท้องตลาดมาใช้ในการออกแบบ เพื่อความรวดเร็วและความมั่นใจในการทำงานอย่างมีมาตรฐานของวิศวกร ทั้งนี้ยังสามารถช่วยในการเขียนรูปที่แน่นอน เพื่อการคำนวณที่ถูกต้องอีกด้วย
จากการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดด้วยโปรแกรม KU slope เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโปรแกรม Slope/W ผลการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดที่ออกมามีความแตกต่างกันไม่มากนัก แต่การวิเคราะห์เสถียรภาพความลาด ด้วยโปรแกรม KU slope จะมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ง่ายกว่าในด้านการป้อนข้อมูลเข้าและยังมีการแสดงผลที่เข้าใจง่ายกว่า และโปรแกรม KU slope ยังมีภาษาให้เลือกใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงเป็นการง่ายที่จะใช้โปรแกรม KU slope ในการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาด อีกทั้งโปรแกรม KU slope ยังมีการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมเสถียรภาพความลาดชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย โปรแกรม KU slope จึงมีความเหมาะสมที่จะใช้วิเคราะห์เสถียรภาพความลาด
1.       Stability Analysis

         โปรแกรม KU slope เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยศูนย์วิจัยปฐพีและฐานรากเพื่อใช้ ในการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดชันอย่างไรก็ตามยังต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้การ วิเคราะห์เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ  ผู้สนใจในหัวข้อนี้ควรมีความสนใจในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2.       การจัดฐานข้อมูลชั้นดินด้วยระบบ GIS    การจัดฐานข้อมูลชั้นดินนั้นมีความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอย่างสูงทั้งในด้านการนำไปใช้ ้เพื่อเป็นแนวทางของการก่อสร้างและเพื่อการพัฒนางานวิจัยปัจจุบันศูนย์วิจัยได้ทำการจัดระบบ การจัดฐานข้อมูลชั้นดินโดยนำระบบ GIS เข้ามาช่วย ดังนั้นผู้สนใจควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบ GIS เป็นอย่างดี

3.       Unsaturated Soils

      Unsaturated Soils เป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาแผ่นดินถล่ม เมื่อมีฝนตกทำให้สูญเสีย     ทรัพย์สินและชีวิต ประชาชนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การศึกษาพฤติกรรมของ Unsaturated Soils จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพฤติกรรมเมื่อความชื้นในดิน เปลี่ยนไป การวิจัยจะประกอบไปด้วยการทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนาม

4.       Risk Analyses and Dam Safety การประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของเขื่อนโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น      และสถิติเข้ามาช่วย เพื่อ นำมาใช้ปรับปรุงเขื่อนให้มีประสิทธิภาพและ ความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้ที่มีความสนใจทางด้านงานวิจัยวิศวกรรมเขื่อนและแหล่งน้ำ ทฤษฎีความน่าจะเป็นและสถิติประยุกต์ควรจะเป็นพื้นฐานของผู้ที่สนใจหัวข้อนี้

5.       Soil Dynamics และ Earthquake Engineering การศึกษาพฤติกรรมของดินเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหวต่อโครงสร้าง ขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน รวมทั้งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อการออกแบบการป้องกันแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง งานวิจัยจะเกี่ยวเนื่องทั้งงานทดสอบในห้องปฏิบัติการและในสนาม รวมทั้งการวิเคราะห์โดยคอมพิวเตอร์โดย Finite Element Analysis

6.       ทุนพัฒนาเครื่องมือทดสอบ พัฒนาเครื่องมือทดสอบโดยประยุกต์เครื่องมือวัดด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสามารถบันทึกผลการทดสอบโดยอัตโนมัติแบบ Real Timeโดยใช้คอมพิวเตอร์ประยุกต์เป็น Data Logger ,การนำระบบนิวเมติก มาใช้เป็นระบบให้แรง และควบคุมแรงดันของน้ำในการทดสอบดิน ,ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ทดสอบเพื่อใช้เป็น Feedback Control , ประยุกต์เครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้ทดสอบได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องมือทดสอบ Automatic Consoliation Test ,เครื่องมือวัดในสนามเช่นวัดแรงดันน้ำในดินโดยใช้ Pressure Sensor ซึ่งค่าที่ได้จากการทดสอบสามารถนำมาใช้ในการแสดงผลและคำนวณแบบ Real Time

ใส่ความเห็น